วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย 1

บุคคลที่มีสิทธิประกัน มี  1) ผู้ต้องหาหรือจำเลย
                                        2) บิดามารดาหรือญาติหรือบุคคลภายนอก

             หากผู้ต้องหาหรือจำเลย ยื่นขอประกันเอง อาจจะไม่สะดวกเพราะถูกจับแล้วหมดอิสรภาพ
ทางที่ดี ควรให้ญาติหรือบุคคลภายนอกยื่นขอประกันให้จะดีกว่า
              ขอพูดเรื่องหลักทรัพย์ที่ใช้ประกัน มีหลายอย่าง แต่จะพูดเพียงบางอย่างเท่านั้นเช่น
                                         1)  เงินสด
                                         2)  โฉนดที่ดิน หรือ น.ส.3 ก
                                          3)  บุคคลโดยใช้ตำแหน่งประกัน

               การประกันด้วย เงินสด จะสะดวกที่สุด ส่วนการประกันด้วยโฉนดที่ดิน หรือ น.ส.3 ก นั้น
จะต้องไปประเมินราคาที่ดินก่อน ที่สำนักงานที่ดิน ฯ  แล้วนำใบประเมินราคาที่ดินนำมายื่นขอประกันด้วย ส่วนการประกันบุคคลโดยใช้ตำแหน่งนั้น จะต้องให้ต้นสังกัดที่เจ้าตัวทำงานอยู่ออกหนังลือรับรองตำแหน่งและเงินเดือนด้วยว่ามีรายได้เดือนละเท่าไหร่แล้วนำมายื่นขอประกัน

                 การประกันชั้นเจ้าพนักงานตำรวจ ก็ให้ญาติหรือบุคคลที่จะประกันไปสอบถามเจ้าหน้าที่
ตำรวจว่า คดีเรื่องนี้ ( บอกข้อหาให้เจ้าหน้าที่ทราบ) จะต้องใช้หลักทรัพย์หรือเงินประกันเท่าไหร่ เมื่อทราบแล้ว ก็นำเอกสารมายื่น ประกอบด้วย 1)สำเนา บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ต้องหา  2)สำเนา
ใบทะเบียนบ้านของผู้ต้องหา )  3)สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่จะยื่นประกัน  4)สำเนาใบ
ทะเบียนบ้านของผู้ยื่นประกัน   และ โดยเฉพาะโฉนดที่ดินหรือ น.ส.3 ก นั้น จะต้องมีสำเนาบัตร
บัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาใบทะเบียนบ้านของคู่สมรสด้วย เพราะคู่สมรสต้องมาเซ็นชื่อยิน
ยอมด้วยหากไม่มาต้องมีหนังสือยินยอมของคู่สมรสมาแสดง และเอกสารดังกล่าวต้องเซ็นรับรองสำเนา
ถูกต้องด้วยโดยเอกสารของใครก็ให้คนนั้นเซ็น (ถ่ายสำเนาใบทะเบียนสมรสมาด้วย)

                หากประกันชั้นเจ้าพนักงานอัยการก็เช่นเดียวกับชั้นเจ้าพนักงานตำรวจ ใช้เอกสารอย่างเดียวกัน

               จะขอพูด การประกันตัวจำเลย ในชั้นพิจารณาคดีของศาล มี 3  ศาล คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา

              การประกันตัวจำเลยต่อศาลชั้นต้นในชั้นพิจารณาคดี ให้ผู้ที่จะขอประกันตัวจำเลยไปถามเจ้าหน้าที่ศาลชั้นต้น ว่า จำเลยชื่อนายนี้ ต้องหาคดีโดยบอกข้อหาให้เจ้าหน้าที่ทราบทางที่ดีควรนำสำเนาคำร้องผักฟ้องฝากขังหรือสำเนาคำฟ้องมาด้วยยื่นให้เจ้าหน้าที่ดู เจ้าหน้าที่จะแจ้งว่า ต้องใช้เงินจำนวนเท่าไหร่

               หากยื่น เงินสด ก็ให้ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ตรงช่องประกัน เจ้าหน้าที่จะเขียนคำร้องขอประกันให้จะต้องนำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของจำเลยและสำเนาใบทะเบียนบ้านของจำเลยและสำเนา
บัตรประชาชนของผู้ที่จะประกันและสำเนาใบทะเบียนบ้านของผู้ที่จะประกัน โดยเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องมาด้วยของใครคนนั้นเซ็น และหากนายประกันเป็นญาติจำเลย ก็ควรเขียนคำร้องขอประกันแนบไปด้วยโดยแจ้งให้ศาลทราบว่านายประกันเป็นญาติจำเลยมีฐานะอย่างไรเป็นบิดามารดาลุงป้าน้าอาแนบสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาใบทะเบียนบ้านด้วย

               หากยื่น โฉนดที่ดิน หรือ น.ส.3 ก ก็ให้ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ตรงช่องประกันเจ้าหน้าที่จะเขียนคำร้องขอประกันให้ จะต้องนำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของจำเลยและสำเนาใบทะเบียนบ้านของจำเลยสำเนาบัตรประชาชนของนายประกันและสำเนาใบทะเบียนบ้านของนายประกัน และหากนายประกันมีคู่สมรสจะต้องยื่นสำเนาบัตรประชาชนของคู่สมรสของนายประกันและสำเนาใบทะเบียนบ้านของคู่สมรสของนายประกันด้วย หากคู่สมรสมาจะต้องเซ็นชื่อให้ความยินยอมด้วย หากคู่สมรสไม่มาต้องมีหนังสือยินยอมของคู่สมรสมาแสดงด้วย (ต้องถ่ายสำเนาใบทะเบียนสมรสมาด้วย)

อ่านต่อ ตอนที่ 2
           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น